ตัวอย่างการสอนเขียนโปรแกรมสำหรับเด็ก online

    การเรียนการสอนเขียนโปรแกรมสำหรับเด็ก(ออนไลน์) การสอนจะ เป็นProject -based learning โดยทุกครั้งจะมีเป้าหมายในการเรียนว่าการเรียนครั้งนี้จบจะได้ผลงานเป็น แอนนิเมชั่นเรื่องอะไร หรือเป็นเกมส์อะไร ทำให้น้องฝึกกำหนดมีเป้าหมาย และวางแผนเพื่อทำให้สำเร็จ 
    ทุกครั้งที่เรียนน้องๆนักเรียนจะมีผลงานเก็บไว้ในstudio ของตัวน้องเอง ซึ่งสามารถเปิดเล่นในภายหลังเองได้ หรือ น้องๆบางคนก็จะส่งลิงค์ให้เพื่อนๆ เล่นเกมส์ของน้องอีกด้วย
5/5
ทั้งนี้การเรียนเขียนโปรแกรมยังช่วยพัฒนาทักษะทางสมอง EF(Excutive Functions) ด้วย เนื่องจาก
 
 1. Working Memory (ความจำเพื่อใช้งาน) น้องๆจะได้ฝึกการจดจำคำสั่งภาษาอังกฤษ จดจำเพื่อนำมาใช้งาน 
 2. ประมวลผล ไต่ตรอง [ Inhibitory Control (ยั้งคิด ไตร่ตรอง)] ว่าจะใช้คำสั่งไหนเพื่อให้ตัวละครทำอย่างที่น้องต้องการ จะต้องใช้ความจำและวิเคราะห์ เพื่อประเมินว่าจะวางแผนเขียนโปรแกรมสร้างเกมส์ เขียนโปรแกรมสร้างแอนนิเมชั่นอย่างไรดี
 3. Shifting หรือ Cognitive Flexibility (ยืดหยุ่นความคิด) การในเขียนโค้ดนั้นส่วนประกอบหนึ่งคือBug หรือการที่โปรแกรมทำงานไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ซึ่งจะทำให้น้องๆต้องหาทางแก้ไข (Debug) ด้วยการคิดมุมมองต่างๆ หรือใช้ตัวเลือกคำสั่งอื่น ซึ่งทำให้โปรแกรมได้ผลลัพท์ตามต้องการ ซึ่งเป็นการคิดแบบหยืดหยุ่น เป็นการฝึกคิดว่า คำตอบนั้นสามารถเป็นไปได้หลายทาง อาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่คิดตอนแรกก็เป็นไปได้
 

ตัวอย่างจากคอร์สสร้างGame และAnimation

4. Focus หรือ Attention (จดจ่อ ใส่ใจ) ในการเรียนครั้งละครั้ง เป็น1 ชั่วโมง จะทำให้น้องได้จดจ่อ มีสมาธิกับเป้าหมายที่ต้องการทำให้สำเร็จเป็นชิ้นงานชิ้นงานไป มีกรณีที่น้องอยากทำโปรเจคใหม่ แต่ชิ้นงานเดิมยังไม่เสร็จ คุณครูจะค่อยๆพาน้องทำผลงานเดิมให้เสร็จก่อน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
 5. Emotional Control (ควบคุมอารมณ์) บางครั้งอาจจะมีเหตุการเกิดขึ้น เช่นอินเตอร์เน็ตหลุด วาดรูปไม่ได้ดังใจน้อง ก็จะเป็นโจทย์ให้น้องๆได้ฝึกควบคุมอารมณ์ได้ดี
 6. Initiating (ริเริ่มและลงมือทำ) น้องจะได้ฝึกและลงมือทำผลงานด้วยตัวน้องเอง โดยมีคุณครูคอยให้กำลังใจ ให้น้องได้กล้าคิด กล้าทำ กล้าที่จะสร้างสรรค์ 
 7. Planning and Organizing (วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ)ในการสร้างสรรค์ผลงานหนึ่งนั้นน้องจะต้อง คิด และวางแผน ทำอย่างใดก่อนหลัง เห็นภาพผลสำเร็จในจินตนาการก่อนลงมือทำ และแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ(Decomposition) ค่อยๆทำทีละขั้นตอนจนสำเร็จเป็นผลงาน
 8.Goal – Directed Persistence (มุ่งเป้าหมาย) ในคอร์สขั้นสูงขึ้นไป โปรเจคที่ทำจะเป็นโปรเจคที่ใช้เวลามากกว่า1ครั้งในการทำให้สำเร็จ จึงต้องมีความเพียรพยายาม มุ่งมั่นในสำเร็จตามเป้าหมาย ฝ่าฟันอุปสรรค(Bug)ต่างๆ โดยมีคุณครูคอยดูอย่างใกล้ชิด ให้น้องได้พยายามแก้ไขเองก่อน  และให้น้องได้ลองแก้เอง  หากไม่ได้คุณครูถึงจะค่อยแนะแนวทางการแก้ไขละเอียดขึ้นให้น้อง น้องๆจึงจะได้ฝึกการแก้ไขด้วยตัวน้องเอง

ตัวอย่างจากคอร์ส Python